ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้

ในคดีฟ้องหย่ากันนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดและอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามข้อเท็จจริงคดีนี้คือผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์มาตลอด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ศาลให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์จึงชอบแล้ว

ในคดีฟ้องหย่ากันนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดและอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามข้อเท็จจริงคดีนี้คือผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์มาตลอด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ศาลให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์จึงชอบแล้ว

พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา*แม้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมประเวณีกัน แต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผย จำเลยที่ 1 มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วยกันในเวลากลางคืนเป็นการแสดงออกว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2558

 ในคดีหย่า แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดและอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคสองและมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์มาตลอดตั้งแต่จำเลยที่ 1 เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและเหตุหย่าเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 ประกอบกับจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การหรือสืบพยานว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองและให้จำเลยที่ 1ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์คนละ 4,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะจึงชอบแล้ว

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 6,000 บาท ต่อคน นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ และให้จำเลยทั้งสองชำระค่าทดแทนเป็นเงิน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ฟ. และเด็กหญิง พ. บุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรคนละ 4,000 บาท ต่อเดือน นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ (เด็กหญิง ฟ. เกิดวันที่ 26 กันยายน 2543 และเด็กหญิง พ. เกิดวันที่ 17 ตุลาคม 2548) ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าทดแทนเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมา 1,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกันรวม 2 คน คือเด็กหญิง ฟ. อายุ 12 ปี และเด็กหญิง พ. อายุ 7 ปี

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่ เห็นว่า โจทก์นำนาง บ. ซึ่งมีบ้านอยู่ติดกับบ้านของจำเลยที่ 2 มาเบิกความว่า ตั้งแต่กลางปี 2555 จนถึงวันที่เบิกความ เห็นจำเลยที่ 1 พักอาศัยค้างคืนที่บ้านจำเลยที่ 2 โจทก์นำนาย ค. ซึ่งมีบ้านอยู่ติดกับบ้านของจำเลยที่ 2 มาเบิกความว่า พบเห็นจำเลยที่ 1 มาประมาณ 2 ปี แต่ที่พบเห็นเป็นประจำว่ามาพักอาศัยอยู่ที่บ้านของจำเลยที่ 2 ประมาณหนึ่งปีครึ่ง โจทก์นำนาย ป. ซึ่งมีบ้านอยู่คนละฝั่งถนนกับบ้านของจำเลยที่ 2 มาเบิกความว่า เคยเห็นจำเลยที่ 1 มาที่บ้านจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 จะนอนพักค้างคืนหรืออาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าวหรือไม่ แต่เห็นรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จอดค้างคืนที่บ้านหลังดังกล่าว ทั้งนาง บ. นาย ท. และนาย ป. เป็นเพื่อนบ้านของจำเลยที่ 2 ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งสองมาก่อนและไม่เคยรู้จักกับโจทก์ น่าเชื่อว่าพยานทั้งสามเบิกความไปตามความจริงที่พบเห็น ซึ่งเจือสมกับคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ไปนอนค้างคืนที่บ้านของจำเลยที่ 2 นำรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไปจอดไว้ภายในบ้านของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองแลกเปลี่ยนรถยนต์กันใช้ เดือนละ 6 ถึง 7 ครั้ง ช่วยเหลือกันในด้านธุรกิจและออกงานสังคมร่วมกัน แม้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมประเวณีกัน และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แนะนำบุคคลอื่นให้รู้จักจำเลยที่ 2 ในฐานะภริยา แต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผย จำเลยที่ 1 มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วยกันในเวลากลางคืนและแลกเปลี่ยนรถยนต์กันใช้ ช่วยเหลือกันในด้านธุรกิจเปิดคลินิกตรวจรักษาโรคร่วมกันที่บ้านของจำเลยที่ 2 โดยใช้ชื่อว่า " ป. การพยาบาลและการผดุงครรภ์" เป็นการแสดงออกว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ต่อกันซึ่งถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครอง ศาลมีอำนาจกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ฝ่ายเดียวหรือไม่ และค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นสูงเกินไปหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด และอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคสอง และมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์มาตลอดตั้งแต่จำเลยที่ 1 เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป และเหตุหย่าเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 ประกอบกับจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การหรือสืบพยานว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองจึงชอบแล้ว ส่วนปัญหาเรื่องจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น เมื่อคำนึงถึงความสามารถของจำเลยที่ 1 ในการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสอง ซึ่งมีอายุ 12 ปีเศษ และ 7 ปีเศษ (ขณะฟ้อง) จนกว่าผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูคนละ 4,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 ยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา, แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว

แม้จะไม่ปรากฏว่าสามีพาจำเลยที่ 2 (เมียน้อย)ออกงานสังคมหรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักจำเลยที่ 2 ในฐานะภริยา แต่พฤติการณ์ของสามีที่อยู่ในบ้านเดียวกับเมียน้อยในเวลากลางคืนและอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดซึ่งบ้านดังกล่าวอยู่ในแหล่งชุมนุมชนและทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันโดยเปิดเผย ทั้งเมียน้อยเคยขับรถยนต์พาสามีออกจากบ้านที่อยู่ด้วยกันไปส่งและไปรับสามี หลังจากแวะซื้อผลไม้แล้วสามีจึงเปลี่ยนมาเป็นคนขับแทนการปฏิบัติของสามีต่อเมียน้อย เช่นนั้นบ่งชี้ถึงการมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาวและมีการเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าสามียกย่องเมียน้อยฉันภริยาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6516/2552     

  แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยพาจำเลยที่ 2 ออกงานสังคม หรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักในฐานะภริยาแต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกสร้างในแหล่งชุมชนด้วยกันในเวลากลางคืน ขับรถรับส่งเมื่อไปทำกิจธุระหรือซื้ออาหารด้วยกัน ย่อมบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ต่อกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แล้ว และโจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโจทก์ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ได้อีกด้วย

มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไป

จะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ

และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 
มาตรา 1523  เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516 (1)  หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
 
       โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียวให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าทดแทน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเดือนละ 8,000 บาท จนกว่าบุตรทั้งสองจะมีอายุครบ 20 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาแก่โจทก์

          จำเลยทั้งสองให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย มีบุตรผู้เยาว์ 2 คน คือ เด็กชาย น. และเด็กชาย อ. จำเลยทั้งสองรู้จักและติดต่อกัน มีทรัพย์สินบางอย่างของจำเลยที่ 1 อยู่ในบ้านของจำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์ จำเลยที่ 1 พร้อมกับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปนำกลับมา ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์และบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้มีหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสอง และโจทก์ยังมีหนังสือขอความเป็นธรรม

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในข้อแรกว่า จำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุหย่าหรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์ นางเบญจมาศ เด็กชาย น. จ่าสิบเอกบัญชาและนางสาวพรกนก เป็นพยานเบิกความถึงความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสอง เริ่มจากเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2546 จำเลยที่ 1 ขนเสื้อผ้าและเครื่องใช้ออกจากบ้านแล้วไม่ค่อยกลับ ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับบ้านด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โจทก์จึงสอบถามจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 รับว่าไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2 วันรุ่งขึ้นโจทก์พร้อมด้วยจำเลยที่ 1 กับบุตรทั้งสองพากันไปที่บ้านของจำเลยที่ 2 และขนเสื้อผ้าและเครื่องใช้ของจำเลยที่ 1 กลับ ระหว่างนั้นได้พบกับจำเลยที่ 2 โจทก์จึงพูดตักเตือนแต่จำเลยที่ 2 กลับบอกว่าเรื่องไม่จบเพียงเท่านี้ ในเดือนกรกฎาคม 2546 โจทก์จองตั๋วเครื่องบินให้จำเลยที่ 1 เพื่อไปปฏิบัติราชการที่จังหวัดสงขลา แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แจ้งเลื่อนการเดินทาง โจทก์จึงว่าจ้างรถจักรยานยนต์ไปบ้านจำเลยที่ 2 โดยพาบุตรทั้งสองไปด้วย ขณะผ่านหน้าบ้าน โจทก์เห็นจำเลยทั้งสองนั่งอยู่ด้วยกันจึงให้คนขับรถจอดรถเลยบ้านไปแล้วโจทก์เดินไปดูแต่ไฟในบ้านปิดแล้ว โจทก์กดสัญญาณกริ่งเรียก จำเลยที่ 2 ออกมาบอกว่าจำเลยที่ 1 ไม่อยู่ โจทก์จึงโทรศัพท์เรียกจ่าสิบเอกบัญชาและนางสาวพรกนกมารอดูอยู่จนถึง 1 นาฬิกา เห็นจำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ออกมา วันที่ 10 สิงหาคม 2546 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วยบุตรทั้งสองไปบ้านจำเลยที่ 2 พบจำเลยที่ 2 นอกกอดจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 1 เห็นโจทก์จึงออกมาบอกให้กลับไปก่อน แต่โจทก์ไม่กลับ จำเลยที่ 1 ด่าว่าโจทก์และให้จำเลยที่ 2 ไปรอที่บันได ขณะนั้นนายไสวพนักงานรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านผ่านมาโจทก์จึงกลับบ้านพร้อมบุตรทั้งสอง ปลายเดือนตุลาคม 2546 เด็กชาย น. เห็นจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์เข้ามาจอดในหมู่บ้านเบญจทรัพย์ที่โจทก์อยู่อาศัย จึงไปบอกโจทก์และนางเบญจมาศมารดาโจทก์ โจทก์ขับรถยนต์ตามไปไม่ทัน ต่อมาโจทก์ร้องเรียนจำเลยที่ 2 ไปยังวิทยาลัยพลศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยโจทก์ เด็กชาย น. จ่าสิบเอกบัญชาและนางสาวพรกนกได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการดังกล่าว เห็นว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างประกอบอาชีพรับราชการ มีตำแหน่งหน้าที่ราชการที่ดีและมีบุตรผู้เยาว์ 2 คน ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู ส่วนเด็กชาย น. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และโจทก์ย่อมมีความรักใคร่ในตัวจำเลยที่ 1 และโจทก์ผู้เป็นบิดามารดา สำหรับนางเบญจมาศเป็นมารดาของโจทก์ จ่าสิบเอกบัญชาและนางสาวพรกนกเป็นน้องชายและน้องสะใภ้ของโจทก์ย่อมมีความปรารถนาดีต่อครอบครัวของโจทก์ ไม่มีเหตุผลที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องขึ้นหาเหตุให้ครอบครัวของโจทก์ต้องแตกแยกกัน ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์มีอาการผิดปกติทางจิตโดยบอกจำเลยที่ 1 ว่าโจทก์เป็นร่างทรงของเจ้าแม่กวนอิม หากจำเลยที่ 1 ให้ของแก่ใครให้เอาคืนมา มิฉะนั้นบุตรจะถึงแก่ความตายนั้นในข้อนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถามค้านโจทก์ไว้เพื่อให้มีโอกาสอธิบายว่าเรื่องดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่อย่างไร เป็นการนำสืบในภายหลังแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เชื่อว่าข้อเท็จจริงเป็นดังข้อนำสืบของโจทก์ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามหนังสือที่โจทก์ เด็กชาย น. จ่าสิบเอกบัญชา และนางสาวพรกนกชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่วิทยาลัยพลศึกษาสมุทรสาครแต่งตั้งขึ้นดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งวันเวลาและสถานที่ที่พบเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกันตามที่พยานโจทก์แต่ละคนรู้เห็น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พาจำเลยที่ 2 ออกงานสังคม หรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักจำเลยที่ 2 ในฐานะภริยา แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่อยู่ในบ้านเดียวกับจำเลยที่ 2 ในเวลากลางคืนและอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดซึ่งบ้านดังกล่าวอยู่ในหมู่บ้านวรารมย์ แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมชน และจำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันโดยเปิดเผย ทั้งจำเลยที่ 2 เคยขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ออกจากบ้านดังกล่าวไปส่งที่สถานีตำรวจภูธรตำบลท่าฉลอมและขับรถยนต์ไปรับจำเลยที่ 1 ที่สถานีตำรวจดังกล่าว หลังจากแวะซื้อผลไม้แล้วจำเลยที่ 1 จึงเปลี่ยนมาเป็นคนขับแทนการปฏิบัติของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 เช่นนั้นบ่งชี้ถึงการมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาวและมีการเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองกับเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ได้ ที่นายอัคสิทิ์และนายไสว มาเป็นพยานจำเลยทั้งสองโดยนายอัคสิทิ์เบิกความว่า โจทก์ได้ให้พยานช่วยสืบดูว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ในทำนองชู้สาวกับหญิงอื่น พยานสืบดูแล้วไม่พบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ดังกล่าวและนายไสวเบิกความว่าพยานไม่ได้เขียนข้อความในเอกสารหมาย จ.10 เพียงแต่ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว ซึ่งขณะลงลายมือชื่อยังไม่มีข้อความ พยานไม่รู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อน ก็ไม่ถึงกับทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ขาดน้ำหนักในการรับฟังสำหรับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากโจทก์และเด็กชาย น. ว่า จำเลยที่ 1 ได้เล่าเรื่องที่จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2 ให้เด็กชาย น. ฟังด้วยนั้นคงเป็นเพราะโจทก์ได้ชวนเด็กชาย น. ไปบ้านที่จำเลยที่ 1 อยู่กับจำเลยที่ 2 ด้วยเพื่อขนสิ่งของของจำเลยที่ 1 กลับบ้าน เด็กชาย น. ย่อมจะต้องสอบถามว่าจำเลยที่ 2 เป็นใครนั่นเอง แม้คำเบิกความและข้อเท็จจริงที่โจทก์และพยานโจทก์มีหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนของจำเลยที่ 1 จะมีข้อที่แตกต่างหรือขาดตกบกพร่องไปบ้างก็เป็นเพียงรายละเอียดแต่ได้ความในสาระสำคัญตรงกัน พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองสำหรับประเด็นในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ค่าทดแทน และอำนาจปกครองบุตรนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองจะยังไม่ได้วินิจฉัย แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้วดังนั้น เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาในประเด็นดังกล่าวก่อน เมื่อฟังได้ว่าเหตุหย่าเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 และบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์ โดยคำนึงถึงความสามารถของจำเลยที่ 1 ฐานะของโจทก์ประกอบพฤติการณ์แห่งกรณีแล้วเห็นควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคน คนละ 3,000 บาทต่อเดือน สำหรับค่าทดแทนที่จำเลยทั้งสองต้องชำระให้แก่โจทก์นั้นเมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าทดแทนที่จำเลยทั้งสองต้องจ่ายให้แก่โจทก์ 150,000 บาท สำหรับอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนั้น เห็นว่า บุตรผู้เยาว์ทั้งสองสมัครใจที่จะอยู่กับโจทก์ และโจทก์ก็เป็นผู้เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่กับโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน”

          พิพากษากลับ ให้โจทก์หย่ากับจำเลยที่ 1 และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง คือ เด็กชาย น. และเด็กชาย อ. แต่ผู้เดียว ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนละ 3,000 บาทต่อเดือน จนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์จำนวน 150,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จกับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 9,000 บาท คำขออื่นให้ยก

 

พิพากษากลับ ให้โจทก์หย่ากับจำเลยที่ 1 และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง คือ เด็กชาย น. และเด็กชาย อ. แต่ผู้เดียว ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนละ 3,000 บาทต่อเดือน จนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์จำนวน 150,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จกับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 9,000 บาท คำขออื่นให้ยก




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515, article
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า article
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร article
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา article
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)