กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง การทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ต้องเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อการดำเนินชีวิตครอบครัวของคู่สมรสโดยปกติสุข ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรืออนามัยของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การกระทำอาจโดยคำพูด ตัวอย่างคือ สามีชอบพูดว่าภริยาเป็นเพียงนางบำเรอและมีชู้ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาฟ้องหย่าขาดจากจำเลย อ้างเหตุว่าไม่อุปการะเลี้ยงดูตามสมควรและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง ได้ความว่าจำเลยถือว่าโจทก์เป็นนางบำเรอโดยซื้อมาและยังยืนยันให้การเช่นนั้นตลอดมาดังนี้ ถือว่า ที่จำเลยถือเอาฐานะโจทก์เป็นดังนั้น เป็นการปฏิบัติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงเพราะมิได้รับและยกย่องโจทก์เป็นภริยา เป็นเหตุให้หย่าได้ พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามศาลชั้นต้น หรือภริยาเขียนจดหมายถึงสามีและขู่ว่าจะจ้างคนเอาน้ำกรดสาดหน้าสามี (ดูคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบ) -คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 ภริยาส่งจดหมายถึงสามี ใจความว่าสามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์ ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรงแล้ว ภริยาเขียนจดหมายขู่สามีว่าจะจ้างคนเอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ถือว่าทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าได้ แม้ศาลจะพิพากษาให้หย่ากัน เมื่อจำเลยมีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่เคยทำระหว่างสมรส ศาลก็ไม่พิพากษาให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ ฟ้องขอหย่าเมื่อพ้นกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1509 แต่เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิเรียกร้องขึ้นต่อสู้ หรือเป็นการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ตัวอย่างคือสามีทำร้ายภริยาหลายครั้ง โดยการทำร้ายนั้นได้กระทำในที่สาธารณะด้วย หรือทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้ทำมาหาได้ร่วมกันไปเป็นของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นตามปกติของสามีภริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน (ดูคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบ) -สามีทำร้ายภริยาหลายครั้ง และทำร้ายอย่างไม่ปรานี แม้ในที่สาธารณะ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินร่วมกันไปเป็นของสามีผิดวิสัยที่สามีภริยาพึงปฏิบัติต่อกัน ภริยาฟ้องหย่าได้ หรือสามี ภริยาบาดเจ็บด่าว่าโคตรพ่อโคตรแม่ เป็นการด่าภริยากับบุพการี และมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่น (ดูคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบ) -ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรไม่ใช่เพียงความสุขความสบายที่ได้รับทางกายเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความอบอุ่นที่บุตรจะได้รับด้วยได้แก่ด้านจิตใจอารมณ์ การศึกษา สภาพแวดล้อม ฯลฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2520 เคยวางบรรทัดฐานไว้ว่า บิดาทำร้ายมารดาและมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่น บุตรหญิงอายุ 15 ปี ควรอยู่ในความดูแลของมารดาซึ่งเป็นเพศเดียวกัน หรือภริยาเอาขวดข้างสามี่ ทำร้ายสามี ด่าสามีว่าไอ้สัตว์ สำมะโนครัวมึงไม่อยู่ที่นี่แล้ว มึงจะมาอยู่ที่นี่อีกหรือ แล้วยังขับไล่สามีออกจากบ้าน ใช้ปัสสาวะสาดสามี หรือเป็นการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อความรักระหว่างกัน เช่น สามีเป็นชาวจีนได้สมรสกับภริยาเป็นคนไทย ต่อมาได้นำภริยาเมืองจีนมาอยู่ด้วยเกิดมีปากเสียงกันตลอดมา สุดท้ายคือสามีใช้ไม้ตีพริกทำร้ายภริยา ภริยาคนจีนใช้ไม้กวาดตีทำร้ายบุตรของภริยา ภริยาคนจีนเอากระป๋องนมที่ยังไม่เปิดขว้างหัวภริยาจนแตกเลือดไหล หรือสามีไล่ภริยาเดิมออกจากบ้านแล้วพาภริยาใหม่มาอยู่ด้วย แม้สามีภริยาเป็นอิสลามซึ่งประเพณีอิสลามชายมีภริยาได้หลายคนก็ตาม การกระทำดังกล่าวทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ทั้งนั้น นอกจากนี้การที่ภริยาไม่ยอมร่วมประเวณีกับสามีเพราะเกรงว่าจะเกิดมีบุตร สามีปฏิเสธไม่ยอมร่วมประเวณีกับภริยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสามีใช้เครื่องป้องกันไม่ให้มีบุตรซึ่งขัดกับความประสงค์ของภริยาที่ต้องการมีบุตร หรือภริยาแอบไปทำแท้งโดยไม่ปรึกษาสามีก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยาได้แล้ว ในต่างประเทศมีคดีที่ศาลวินิจฉัยไว้ในกรณีที่ภริยาไม่ต้องการมีบุตรจึงบังคับให้สามีสำเร็จความใคร่นอกช่องคลอด เป็นประจำ ก็ถือว่าภริยาทำการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ตามการกระทำที่จะถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยานี้ไม่หมายความรวมถึงการที่สามีภริยาขัดแย้งหรือแข่งขันกันในทางธุรกิจการค้า เช่น สามีไปทำการค้าเป็นส่วนตัวขึ้นทางหนึ่งเป็นการค้าแบบเดียวกันกับภริยา ซึ่งจะมีผลประโยชน์ขัดกันก็ตามก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ยังไม่มีเหตุฟ้องหย่า การกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรงอันจะเกิดเหตุฟ้องหย่าได้นั้นจะต้องถึงขนาดที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบด้วย ซึ่งจะต้องดูพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดและเทียบเคียงกับคู่สมรสโดยทั่วไปที่แตกต่างกันไป และในบางกรณีอาจจะต้องพิจารณาถึงเหตุในการกระทำและเจตนาของผู้กระทำด้วย เช่น สามีภริยาเคยอยู่กินฉันสามีภริยาที่ร้านของภริยาต่อมาสามีกลับไปอยู่บ้านของตนเอง ส่วนตัวภริยายังคงอยู่ที่ร้านของตนต่อไป เห็นได้ว่าสามีเป็นฝ่ายที่ไม่ไปมาเยี่ยมเยียนภริยา กรณีเช่นนี้ยังไม่ถือว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง สามียังไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่า หรือในกรณีที่ภริยาไม่ติดตามสามีไปอยู่ด้วยกันที่ต่างอำเภอ แต่สามีก็เดินทางมาพบภริยาเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งภริยาก็ยอมให้สามีอยู่กินหลับนอนด้วย จึงไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง ภริยาจะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าสามีไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้กรณีที่สามีทอดทิ้งภริยาไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น ภริยาจึงไปร้องเรียนกล่าวโทษสามีต่อผู้บังคับบัญชาของสามีด้วยอารมณ์หึงหวง การกระทำของภริยาดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง สามีจะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ หรือในกรณีที่สามีมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นและให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่าปัจจุบันสามีสมรสกับหญิงอื่น เป็นเหตุให้ภริยาจึงมีหนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาสามี ไม่ถือว่าเป็นการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง สามีไม่มีสิทธิฟ้องหย่าภริยาได้ การเป็นคู่สมรสเป็นสามีภริยากันนั้นย่อมต้องอดทนและให้อภัยซึ่งกันและกันในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เนื่องจากแม้ว่าจะมีการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันเกิดขึ้นก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนเกินควรแล้วก็จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ หรือกรณีที่สามีขู่ภริยาว่าจะให้คนมาลากตัวกลับบ้าน ก็ยังไม่ถือว่ากระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงที่จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ การหย่ากันด้วยเหตุกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง คู่สมรสฝ่ายที่อ้างฟ้องหย่ามีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่ก่อให้เกิดเหตุนี้ขึ้น
มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้ การที่จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน ถือได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) |