พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย พรากผู้เยาว์อายุมากกว่า 15 ปีแล้วแต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยที่หญิงผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปมีเพศสัมพันธ์ด้วย ชายมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี ปรับสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท แต่กรณีที่พาบุตรสาวผู้เยาว์ของเขาไปโดยที่หญิงสาวนั้นไม่เต็มใจไปด้วยแม้ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันก็ตามก็มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีโทษจำคุกสองปีถึงสิบปีเช่นกัน แต่ถ้าไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวโดยที่เขาไม่ยินยอมด้วยโดยข้อหาหนักฐานข่มขืนกระทำชำเราด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549 ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมนั้น จำเลยมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดาและผู้ปกครองดูแลผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 276, 278, 284, 318 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคหนึ่ง, 278, 284 วรรคหนึ่ง, 318 วรรคสาม เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานข่มขืนกระทำชำเรา (ที่ถูกต้องระบุว่า "และฐานกระทำอนาจารเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ให้ลงโทษฐานข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวม" ด้วย) สองกระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี ฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 3 ปี ฐานพรากผู้เยาว์ จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 13 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากระทงหลังกับความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักแต่เพียงกระทงเดียว รวมจำคุก 10 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราทั้ง 2 ครั้ง และเมื่อฟังว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราแล้ว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ด้วย อย่างไรก็ตามการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรานั้น จำเลยก็มิได้รับอนุญาตจากบิดาและนายทองศูนย์พี่ชายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลผู้เสียหายให้พาผู้เสียหายไป จึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ซึ่งแม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวที่พิจารณาได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์บางส่วน ส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ความผิดฐานพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 กับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 318 วรรคสาม เป็นความผิด 2 กรรมต่างกันนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา 319 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไป ด้วยต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาท ถึงสองหมื่นบาท ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง สำนักงานทนายความโดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภคและคดีอื่นๆ ทุกคดี รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย รับเป็นทนายความแก้ต่างต่อสู้คดี ข้อตกลง ตลอดจนข้อสัญญาต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องเรียกเงินผิดสัญญากู้ยืมเงิน ผิดสัญญาจ้างทำของ ฟ้องหย่าคดีครอบครัว ฟ้องเรียกบุตรคืน ฟ้องถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องขอแบ่งสินสมรส ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงที่แสดงตนว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับคู่สมรส ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 สำนักงานพีศิริ ทนายความ เครื่องกระสุนปืนใช้ผิดกระบอก จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 ไว้ในครอบครองเป็นความผิดหรือไม่? อาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ก็ตาม แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ |